วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

มหัศจรรย์จากธรรมชาติสู่ผ้าหมักโคลน


         ผ้าหมักโคลน ได้รับอิทธิพลจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจับปลาหาอาหารของชาวบ้าน สมัยก่อนชาวบ้านใช้แห้เพื่อจับปลา แต่กลับพบว่า การใช้แห่ใหม่ซึ่งมีสีขาวทำให้ปลาสังเกตุได้ง่าย ปลาจึงว่ายน้ำหนีไป ชาวบ้านจึงดัดแปลงโดยใช้วิธีการแช่แห ลงไปในโคลนเพื่อที่จะทำให้แห นั้นมีสีเข้มขึ้น หลังจากใช้เสร็จชาวบ้านก็จะนำแหนั้นมาตากแดดและใช้วิธีนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้สีโคลนอยู่ติดทนนาน
          นางนรินทิพย์ สิงหะตา จึงได้นำภูมิปัญญานี้มาดัดแปลงและประยุกต์ใช้กับการย้อมผ้า โดยใช้สีจากพันธุ์ไม้ให้สีในธรรมชาติและอ้างอิงจากเรื่องเล่าในอดีตเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดในสงครามมหาเอเชียบูรพาของฝรั่งเศส การทิ้งระเบิดในครั้งนั้นได้เกิดความผิดพลาดทำให้ระเบิดตกลงในหนองน้ำ นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้โคลนในหนองน้ำแห่งนี้มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากที่อื่น โคลนในหนองน้ำแห่งนี้มีสีที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งกลิ่นหอมละมุนของไอดินที่มาจากโคลน ยังมีความโดดเด่นไม่เหมือนที่อื่นอีกด้วย นางนรินทิพย์ได้เกิดความคิดที่จะผสมผสานเอกลักษณ์การทอผ้าลวดลายสวยงามด้วยมือ หมักด้วยโคลนคุณภาพจากเรื่องเล่าที่ได้รับรู้มาเข้าด้วยกัน

ที่มาของข้อมูล : บทสัมภาษณ์ นาง นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าดั้งเดิมอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าดั้งเดิมบ้านหนองสูง