วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แผนการตลาดและกลุ่มเป้าหมาย

          ในปัจจุบันมีการทำแผนการตลาดกับต่างประเทศอยู่ มีการส่งผ้าหมักโคลนขายที่เมืองเวียงจันทร์    ประเทศลาว
           กลุ่มเป้าหมาย แต่ก่อนเป็นกลุ่มคนทำงาน กลุ่มสาวออฟฟิศ แต่ตอนนี้ได้พุ่งเป้าไปที่ กลุ่มเยาวชน-กลุ่มวัยรุ่น เพราะได้มีการพัฒนาจากลวดลายโบราณๆมาเป็นลวดลายร่วมสมัย


ที่มาของข้อมูล : บทสัมภาษณ์ นาง นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าดั้งเดิมอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าดั้งเดิมบ้านหนองสูง

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำผ้าหมักโคลน

         ขั้นตอนการทำผ้าหมักโคลนก็ไม่ยุ่งยาก เพียงจะมีหลายขั้นตอนเท่านั้น ต้องใช้ความอดทนในการทำ โดยการทำเริ่มจากนำโคลนขึ้นมากรองด้วยตะแกรง เพื่อคัดกรองเอาพวกเม็ดกรวดเม็ดดินออกให้เหลือ แต่เนื้อโคลนล้วนๆแล้วนำไปผสมน้ำและเกลือตามความเหมาะสม คนให้เข้ากัน
        นำเส้นใยฝ้ายหรือผ้าไหมลงไปแช่ในโคลนที่เตรียมไว้ โดยใช้เวลาหมักประมาณ 3-6 ชั่วโมง ซึ่งสีของเส้นใยจะอ่อนหรือเข้ม ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการหมัก
         เมื่อหมักได้เวลาที่ต้องการ ก็นำขึ้นมาบิด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง พอเส้นใยแห้งก็นำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำกลับไปตากแดดให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงนำไปทำการย้อมสีตามที่ต้องการ
        การสกัดน้ำยอมสีธรรมชาติ นำเปลือกไม้ไปแช่น้ำ ให้คลายสีออกมา แล้วนำไปต้มสกัดเอาน้ำสี จากนั้นใส่เกลือ ทำการผสมให้เข้ากันก็จะได้น้ำสีย้อม จากนั้นนำเส้นใยที่หมักโคลนแล้วลงไปต้มย้อมจนสีติดเส้นใย ผึ่งแดดให้แห้งแล้วจึงนำไปทอ บางแห่งมีการนำเส้นใยธรรมชาติไปทอเป็นผืนก่อน แล้วจึงนำไปหมักโคลน แล้วย้อมสีภายหลัง โดยใช้วิธีการหมักย้อมเหมือนกัน






กระบวนการการทอผ้า

ที่มาของข้อมูล : บทสัมภาษณ์ นาง นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่ เมวิสาหกิจทอผ้าดั้งเดิมอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันอังคาร ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2551 เรียบเรียงโดย 
นาย วิภาวี สมเพราะ

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การทำฝ้ายให้เป็นเส้น


     นำฝ้ายที่เก็บไว้ออกผึ่งแดดเพื่อให้ปุยฝ้ายที่เก็บไว้นั้นฟูขึ้น เพื่อสะดวกในเวลาแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุย การแยกนี้ใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับเฟืองรถยนต์ จำนวน 2 เฟือง (เฟืองกลมคล้ายกับสว่าน) ที่หมุนพร้อมกันกับด้ามทำด้วยไม้จริงกลมๆ โดยให้ด้ามของเฟืองอันหนึ่งยาวกว่าอีกอันหนึ่ง โดยให้อันล่างยาวกว่าอันบน ที่ปลายไม้อันล่างทำมือสำหรับจับเวลาหมุน ส่วนเสานั้นทำด้วยไม้จริงเหมือนกัน หนาประมาณ 3เซนติเมตร สูงพอประมาณ 2หลัก เพื่อไว้ใส่ไม้หมุนทั้ง2อัน ส่วนเสาปักอยู่บนไม้อีกแผ่นหนึ่ง ซึ่งทำเป็นฐานรองรับเสา หนาวประมาณ 3-5 นิ้ว เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างยาวพอประมาณ เครื่องมือชนิดนี้เรียกว่า "อิ้ว"


เครื่องอิ้วฝ้าย

        "อิ้ว" ใช้สำหรับแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้ายโดยให้ปุยลอดอิ้วไปทางด้านหน้า ส่วนเมล็ดจะหล่นอยู่ทางด้านหลัง จากนั้นนำเอาปุยฝ้ายที่อิ้วเรียบร้อยมาดีดกับเครื่องมือดีดฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายที่นำมาดีดเป็นเนื้อเดียวกันจนละเอียดเหมือนกับสำลี

การอิ้วฝ้าย


การดีดฝ้ายหรือแก้บฝ้าย
     นำปุยฝ้ายที่คัดแยกเมล็ดออกหมดแล้วมาดีด โดยใช้ กงดีดฝ้าย  ก๋งยิงฝ้าย หรือ กงแก้บฝ้าย  ซึ่ง
ทำจากซี่ไม้ไผ่  เหลาให้ปลายเรียวทั้งสองข้าง ใช้เชือกผูกที่ปลายทั้งสองข้างเพื่อดัดซี่ไม้ให้โค้งเข้าหากันคล้ายกับคันธนู  อุปกรณ์คู่กันคือปล้องไม้ไผ่ขนาดเล็กยาวประมาณ  6- 8 นิ้ว และกระบุงขนาดใหญ่พิเศษ  ทรงปากกว้างพอประมาณขอบปากกระบุงด้านหนึ่งมัดท่อนไม้ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว เพื่อเวลาดีดฝ้าย  ปากกระบุงจะได้ยกหนุนสูงขึ้นจากพื้น  กระบุงขนาดใหญ่นี้เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ กันว่า กะเพียด กะเพด หรือกระหลุมยิงฝ้าย

วิธีการดีดฝ้ายหรือแก้บฝ้าย
      นำปุยฝ้ายมาใส่กะเพียด  กะเพด  หรือกะลม  แล้วเอามือหนึ่งจับกงดีดฝ้ายหรือก๋งยิงฝ้าย ถือด้านที่เป็นคันธนูไว้ให้เส้นเชือกถูกปุยฝ้าย แล้วใช้อีกมือจับปล้องไม้ไผ่ ขนาดเล็กดีดเส้นเชือกต่อเนื่องไป  เพี่อให้ปุยฝ้ายกระจายตัวเป็นปุยละเอียด  หมั่นคนปุยฝ้ายให้เชือาดีดถูกจนทั่วสม่ำเสมอกันเป็นปุยละเอียดเหมือนกันทั้งหมด การดีดฝ้ายแต่ละครั้งจะไม่ใส่ฝ้ายมากนักจะดีดฝ้ายให้เพียงพอเฉพาะการนำมาม้วนฝ้ายหรือล้อฝ้ายเท่านั้น  ไม่ควรดีดฝ้ายทิ้งค้างไว้เพราะปุยฝ้ายจะคืนตัวจับกันเป็นก้อนเหมือนเดิม

การม้วนฝ้ายหรือล้อฝ้าย

แป้นล้อฝ้าย 
ทำจากไม้เนื้อแข็ง  เป็นแผ่นไม้หนาประมาณ  1  นิ้ว  รูปทรงส่วนใหญ่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ  8 x 10 นิ้ว โดยด้านกว้างด้านหนึ่งจะมีที่จับ

ไม้ล้อฝ้าย            
ทำจากไม้เนื้อแข็ง  รูปทรงคล้ายตะเกียบ  บางท้องถิ่นจะแกะสลักด้ามเป็นหยักเหลื่ยมสวยงาม

วิธีการม้วยฝ้ายหรือล้อฝ้าย คือ นำปุยฝ้ายที่ดีดเป็นปุยละเอียดแล้ว  วางลงบนแป้นล้อฝ้าย ให้กระจายสม่ำเสมอกัน  ประมาณขนาดให้ใหญ่กว่าฝ่ามือเพียงเล็กน้อย  แล้ววางไม้ล้อฝ้ายไว้บนส่วนปุยฝ้าย จากนั้นให้เอาฝ่ามือถูปุยฝ้ายให้ม้วนขนานเข้าไปกับไม้ล้อฝ้าย  โดยรักษาน้ำหนักมือให้พอเหมาะเพื่อไม่ให้ม้วนฝ้ายแน่นหรือหลวมเกินไป  แล้วดีงไม้ล้อฝ้ายออก  จะได้ฝ้ายเป็นม้วนหลอดกลมยาวประมาณ  8 - 9 นิ้ว บางท้องถิ่นเรียกหลอดม้วนฝ้ายนี้ว่า  ดิ้ว  การม้วนฝ้ายหรือล้อฝ้ายนี้จะต้องทำจนหมดปุยฝ้ายที่ดีดไว้ การม้วนฝ้ายหรือล้อฝ้ายนี้ทำสะสมไว้ได้แล้วทยอยนำไปปั่นเป็นเส้นด้าย แต่ก็ไม่ควรเก็บม้วนฝ้ายหรือล้อฝ้ายไว้นานเกินไป  โดยปกติหลังจากม้วนฝ้ายหรือล้อฝ้ายได้พอประมาณจึงนำไปปั่นเป็นเส้นใยจนหมดม้วนฝ้าย
          การปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นใยฝ้ายจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  กงปั่นฝ้าย  หรือ  หลาปั่นฝ้าย การปั่นฝ้ายนี้ภาษาท้องถิ่นทางภาคอีสานเรียกว่า  การเข็นฝ้าย

การปั่นฝ้าย หรือ  หลาปั่นฝ้าย  ส่วนโครงสร้างทำจากไม้เนื้อแข็ง ส่วนวงล้อนั้นประกอบจากซี่ไม้ไผ่  โครงสร้างส่วนฐานประกอบจากท่อนไม้คล้ายตัวอักษร  T  โดยส่วนหัวมีเสาหลัก  2  ข้างเข้าต่อเป็นเดือยทะลุฐาน ข้างหนึ่งสั้นกว่าเพื่อให้เอียงเข้าหาด้านผู้ปั่น   ส่วนเสาหนักที่ทะฐานขึ้นไปจะยาวเท่ากัน  โดยส่วนกึ่งกลางจะเจาะทะลุใส่คานแกนของวงล้อปั่นฝ้าย  วงล้อนี้จะทำด้วยซี่ไม้ไผ่มัดประกอบกันด้วยเส้นเชือก  มีลักษณะคล้ายวงล้อจักรยาน  ที่คานแกนกลางวงล้อนี้จะต่อยาวออกมาเป็นที่จับสำหรับหมุนปั่นฝ้ายส่วนฐานอีกด้านหนึ่งเข้าเดือยไม้อีกชิ้นหนึ่ง  ซึ่งมีหลักเตี้ย ๆ ขึ้นไปเป็นคานใส่เหล็ก  ด้านหนึ่งยื่นเป็นปลายแหลมเข้าหาด้านผู้ปั่นฝ้าย  เหล็กปลายแหลมนี้เรียกว่า ไน  ซึ่งหมุนโดยแรงเหวี่ยงของเส้นเชือกที่ผูกโยงรอบวงล้อมาหาแกนของเหล็กไน   เมื่อหมุนวงล้อ  เหล็กไนก็หมุนไปด้วย

การปั่นฝ้าย

วิธีการปั่นฝ้ายหรือเข็นฝ้าย   เอาปลายม้วนฝ้ายจ่อไว้ที่ไน ส่วนมืออีกข้างจับที่หมุนให้วงล้อหมุน  ส่วนไนก็จะหมุนตาม  ทำให้แรงเหวี่ยงตีเกลียวม้วนฝ้ายที่จ่อไว้  เมื่อดึงมือที่ถือม้วนฝ้ายออกมาก็จะเป็นเส้นฝ้าย  เมื่อผ่อนมือย้อนกลับเส้นฝ้ายก็จะม้วนอยู่กับเหล็กไน  เมื่อไกล้จะหมดม้วนฝ้ายก็เอาม้วนฝ้ายอันใหม่ทำต่อเนื่องกับม้วนฝ้ายอันเดิมให้เป็นเส้นฝ้ายเดียวกัน  จนเส้นฝ้ายเต็มเหล็กไน  จึงค่อยๆ คลายเส้นใยฝ้ายจากเหล็กไนใส่ไม้เปียฝ้ายหรือไม้เปฝ้าย

                                                                         การปั่นฝ้าย





ที่มาของข้อมูล: - https://soclaimon.wordpress.com/2013/09/16/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%87-%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87/?fb_source=pubv1
-http://www.openbase.in.th/node/5621


วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ฝ้ายที่นำมาทำผ้าหมักโคลน

ฝ้ายที่นำมาทำผ้าหมักโคลน  มี 2พันธุ์ คือ

1. ) ฝ้ายตะหลุง หรือ ฝ้ายแม้ว มีเส้นใยสีน้ำตาล
2.)  ฝ้ายน้อย แยกเป็นชนิดพันธุ์ ได้คือ
        2.1 ) ฝ้ายหำยาน เส้นใยสีขาว
        2.2)  ฝ้ายครีม เส้นใยสีครีม
       
ฝ้ายสีขาว/ฝ้ายตะหลุงสีน้ำตาล
-
เมล็ดพันธุ์ฝ้ายตะหลุง(ฝ้ายแม้ว)


ที่มาของข้อมูล : บทสัมภาษณ์ นาง นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าดั้งเดิมอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าดั้งเดิมบ้านหนองสูง

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

การสกัดน้ำย้อมสีธรรมชาติสำหรับการย้อมผ้า

     จะใช้เปลือกไม้ไปแช่น้ำให้เปลือกไม้คลายสีออกมา แล้วนำไปต้มสกัดเอาน้ำสี จากนั้นก็ใส่เกลือ ทำการคนให้เข้ากันก็จะได้น้ำสีย้อม  สำหรับเปลือกไม้ที่นำมาสกัดเป็นน้ำย้อมได้นั้น มีดังนี้คือ
เข (กาแล) ใช้เนื้อไม้ จะให้สีเหลืองทอง สีน้ำตาล และสีม่วง
เพกา(ลิ้นฟ้า) ใช้เปลือกลำต้น แก่นและราก สีที่ได้คือ เขียวอ่อน เขียวแก่ สีกากี
มะม่วง ใช้เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ ให้สีเขียว เขียวขี้ม้า
ขนุน ใช้แก่น ให้สีเหลือง เหลืองอมน้ำตาล เหลืองอมเขียว
ประดู๋ ใช้เปลือกลำต้น ให้สีชมพูอมแดง หรือสีแดงอมน้ำตาล
ไข่นุ่น ใช้เนื้อไม้ ให้สีน้ำตาล
ครั่ง ให้สีแดงและม่วง


เปลือกต้นมะม่วง


เปลือกต้นประดู่


ที่มาของข้อมูล : บทสัมภาษณ์ นาง นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าดั้งเดิมอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันอังคาร ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2551 เรียบเรียงโดย 
นาย วิภาวี สมเพราะ

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาผ้าหมักโคลน

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาผ้าหมักโคลน

1.) ใช้สบู่อ่อน หรือแชมพูสระผมในการซักเท่านั้น ควรซักด้วยมือไม่แนะนำให้ซักด้วยเครื่อง
2.) สลัดผ้าให้หมาดแล้วตากให้แห้งในที่ร่ม ไม่ควรบิดผ้า
3.) พรมน้ำให้ชุ่มแล้วรีดด้วยไฟปานกลาง
4.) ควรหลีกเลี่ยงกรดน้ำส้ม


ที่มาของข้อมูล : บทสัมภาษณ์ นาง นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าดั้งเดิมอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าดั้งเดิมบ้านหนองสูง


วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

ที่มาของโคลนที่นำมาทำผ้าหมักโคลน

โคลน เป็นหัวใจสำคัญในการย้อมผ้า เพราะโคลนจะช่วยจับสีทำให้สีผ้าเข้มขึ้นและทำให้สีติดอยู่กับเนื้อผ้าทนนานมากขึ้นโดยโคลนที่นำมาใช้ในการหมักโคลน เป็นโคลนที่ได้มาจากหนองน้ำใหญ่อายุ300-400ปี ในหมู่บ้านหนองสูง ทีมีคุณสมบัติพิเศษคือ  เนื้อโคลนมีความละเอียดและมีเนื้อดินเหนียว ซึ่งมีเม็ดดินเม็ดทรายปะปนน้อยมาก



ที่มาของข้อมูล : http://pr.agritech.doae.go.th/article/2554/article%2034_sinuntorn.doc